ประวัติ วิทรุเวียนแมน โมนาลิซา มหาราชวังค์ ชองค์บอร์ด ฯลฯ

เบื้องหลังโมนาลิซา

โมนาลิซา (MONALISA)
วาดโดย Leonardo da Vinci
หลายคนรู้จักชื่อนี้แล้ว แต่ก็มีหลายคนที่ ยังไม่รู้ชื่อเต็มของเขา
Leonardo di ser Piero da Vinci

ในปี พ.ศ. 2046-2049 (ค.ศ. 1503-1506) ตอนอายุ 51-54 ปี เขาวาดภาพอยู่ 2 ภาพคือ โมนาลิซา (mona lisa) และ the virgin and child with sent anne   0.77 เมตร กว้าง 0.53 เมตร ไม่ใหญ่เท่าไหร่ แต่ประเมินค่ามิได้  เลโอนาร์โด ถูกว่าจ้าง จาก เศรษฐี ชื่อ ฟรานเซสโก เดล จิโอกอนโด ให้วาดภรรยาของเขา รูปโมนาลิซาจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ลา จิโอกอนโด (La giocconda) เลโอนาร์โดใช้เวลาวาดนานเป็นปี จนโมนาลิซา เสียชีวิตไป จากข้อสงสัยที่ว่าโมนาลิซานั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับเลโอนาร์โดเอง อาจเป็นเพราะสาเหตุที่ว่า ภาพโมนาลิซานั้น ยังวาดไม่เสร็จ เขาจึงวาดต่อโดยใช้ตัวเองเป็นแบบ (ลองสังเกตภาพซ้อนกันระหว่างเลโอนาร์โดกับโมนาลิซาครับ) บ้างก็ว่าภาพนี้คือภาพ ของอิซาเบลลา เดสตี้ ราชินีแห่งมอนโตบา หลังจากนั้นเขาก็นำภาพนี้ติดตัวไปไหนมาไหนมาตลอดจนถึงวาระสุดท้าย
 

ลองสังเกตความคล้ายคลึง ระหว่างโมนาลิซา กับ เลโอนาร์โด ตั้งแต่ ตา จมูก ปาก และ โครงหน้า
ภาพเล็กไปหน่อยค่อย ๆ สังเกตนะครับ

                ลักษณะพิเศษของโมนาลิซา รูปโมนาลิซานี้ เป็นรูปหญิง ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้หญิงปกติทั่วไปในปัจจุบันเมื่อมีการถ่ายภาพหรือวาดภาพมัก จะต้องแต่งตัวให้สวยงามและแต่งหน้าให้สวยเพื่อจะได้ดูดีรูปที่ออกมา แม้แต่คนในอดีตก็ตาม ต้องแต่งตัวสวมใส่เสื้อผ้าที่สวย และแต่งหน้าถือเป็นเรื่องปกติ แต่โมนาวิซาไม่แต่งหน้าทาปาก หรือสวมเสื้อผ้าให้สวย แต่กลับใส่เสื้อผ้าที่สีดำสนิท และลักษณะท่าทางของตัวเธอเอง คือ ลักษณะเอียงขวา ซึ่งในสมัยนั้น นิยมนั่งตัวตรงเท่านั้น นี่อาจเป็นลูกเล่นของเลโอนาร์โดเอง รวมถึงการกุมมือ จะเห็นได้ว่า ลักษณะนี้เหมือนกับการหันข้าง จากเก้าอี้ เหมือนต้องการจะหันไปมองอะไรสักอย่าง สายตาของเธอนั้น จะมองมาหาเราหรือมองข้ามไปทางด้านหลังของเรา ยังคงเป็นปริศนาอยู่ แต่ รอยยิ้มของเธอ นั้น ผู้ไขปริศนา คือ ซิกมัน ฟรอยด์ นักจิตวิทยา (ถ้าใครได้เรียนวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาจะต้องรู้จักชื่อนี้แน่นอนครับไม่งั้นสอบตกไม่รู้ด้วยนะ) ว่า เขาสังเกตเห็น รอยยิ้มของเธอเหมือนอีกภาพหนึ่ง ที่เลโอนาร์โดได้วาดเอาไว้ จำไม่ได้ว่ารูปอะไร และมีรอยยิ้มที่ คล้ายกันมาก เป็นรูปของเทพธิดา และมีเด็กอยู่ในภาพ 2 คน คิดว่าเป็นลูกของเธอ จึงสันนิษฐานว่า เป็นรอยยิ้มของแม่ นั้นเอง ตามรายงานคิดว่า โมนาลิซาในตอนนั้น ก็กำลังท้องอยู่ด้วย วิธีวาดผมเองก็จำไม่ค่อยได้นะครับ แต่เท่าที่ทราบมาว่า เลโอนาร์โด ได้ใช้สีฝุ่น ร่างภาพไว้ก่อน สีฝุ่นในสมัยก่อนผสมกับไข่แดงเพื่อให้ติดกับกระดาษได้ดีขึ้น และใช้สีน้ำมันวาดซ้ำอีกทีหนึ่ง ซึ่งเลโอนาร์โดเป็นคนแรกที่ใช้สีน้ำมันวาดภาพซึ่งภาพจะสวยงาม ลักษณะการทาสี เลโอนาร์โดใช้การระบายสีลงไปในภาพเลย คือเอาไปผสมเองภายในเนื้อภาพ ซื้งถือว่ายากมาก ถ้าระบายหนาหรือบางเกินไปจะทำให้งานเสียทันที ถ้าใครเคยวาด ภาพนะครับ โดยปกติแล้วเราจะต้องผสมสีในจานสีก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าสีนั้น เป็นสีที่เราต้องการ ก่อนแล้วจึงค่อยวาดลงไปในภาพอีกที แต่เลโอนาร์โด ระบายสีลงไปเลย โดยใช้การระบายเป็นโทนสีก่อน แล้ววาดภาพซ้อนกันอีกทีเพื่อไปผสมกับสีก่อนหน้านี้ คนวาดแบบนี้ต้องแม่นในเนื้อสีและน้ำหนักของการระบายเป็นอย่างมาก ถ้าจำไม่ผิดเขา วาดภาพนี้  ถึง 7 ชั้นด้วยกัน

ภาพหลังของโมนาลิซา.... ล่ะ?

อันนี้ก็ต้องทึ่งกับการวาดของเลโอนาร์โดด้วยครับ มันไม่ใช่ภาพวิวธรรมดานะครับ ทางด้านหลังตอนนั้น เลโอนาร์โด ได้เดินทางในเมืองฟอเรนซ์ เขาเดินทางไปกับ คนติดตาม อีก 1 คน เขาได้เดินเข้าไปในป่า บังเอิญเขาเจอถ้ำ เขาก็ได้เดินเข้าไปสำรวจดู เขาเจอ ซากฟอสซิลปลาดึกดำบรรพ์ ตอนนั้นเขาคิดว่าเป็น ปลาวาฬ และเจอฟอสซิลหอยแอมโมไนท์ จำนวนมาก เขาจึงสันนิษฐานว่า เมืองฟอเรนซ์ในอดีตเคยจมอยู่ในทะเลมาก่อน เขาจึงวาดภาพ จากจินตนาการว่า เมืองนี้ มีทะเล ลักษณะที่สำคัญของเขา คือ ภาพวิวด้านหลังมีลักษณะเอียง เขาตั้งใจวาดให้เอียงเพื่อเป็นลูกเล่นของเขา และทำให้ภาพดูมีมิติยิ่งขึ้น ที่บางคนสันนิษฐานว่า ด้านซ้ายเป็นภาพผู้ชายและด้านขวาเป็นภาพผู้หญิง ด้านผู้ชายคือ เทพอามอน เทพเจ้าความสมบูรณ์ทางเพศของผู้ชาย และผู้หญิงคือ เทพีไอซิส ในแผ่นภาพโบราณ เคยเรียกว่า ลิซา นั้นเป็นชื่อเทพของอียิปต์

 
ลักษณะภาพแบบ ฟีโบนักชี (PHI) 1.618 หรือสัดส่วนสวรรค์ เป็นสัดส่วนที่สวยงามที่สุด PHI หรือ 1.618 คนคิดคือ ลีโอนาร์โด ฟีโบนักชี คนละคนกันนะครับ แต่ชื่อเหมือนกัน เป็นนักคณิตศาสตร์ ผู้ไขรหัสแห่งธรรมชาติ ทำไมถึงเป็นตัวเลขแห่งธรรมชาติ นะหรือ เพราะสัตว์หลายชนิดต้องใช้ตัวเลขนี้ เช่น หอยนอร์ติลูส อัตราส่วนระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลาง ของแต่ละเกลียวเทียบกับเกลียวถัดไปคือ 1.618 หรือแม้แต่ ผึ้ง ทุกรังบนโลก โดยผึ้งตัวเมียมีจำนวนมากกว่าผึ้งตัวผู้เสมอ ถ้า หารจำนวนผึ้งตัวเมียด้วยจำนวนผึ้งตัวผู้ ไม่ว่ารังที่ไหนในโลก จะได้ 1.618  และตามหลักเช่นกัน มนุษย์ก็ชอบภาพที่ขนาด 1.618 หรือใกล้เคียงเช่นกัน ซึ่งเป็นขนาดเดียวของโมนาลิซาด้วยครับ

 

              นอกจากนั้น PHI ยังไปปรากฎอยู่ในงานสถาปัตยกรรมและงานศิลปะที่มีความสำคัญต่อ ประวัติศาสตร์มากมาย อย่างภาพวาดโมนาลิซา ผลงานชิ้นเอกของลีโอนาโด ดาวินชี จิตรกรชื่อก้องโลก ก็มีอัตราส่วนใบหน้าและร่างกายเท่ากับ PHI วิหารพาร์เธนอนของกรีกและพีระมิดของอียิปต์ก็ใช้ PHI ในการออกแบบโครงสร้าง หรือแม้แต่ในงานดนตรี PHI ยังปรากฎอยู่ในโครงสร้างการวางระบบของนักประพันธ์เพลงชื่อดัง ทั้งในโซนาต้าของโมซาร์ท ซิมโฟนีหมายเลขห้าของเบโธเฟน แม้แต่ในเครื่องดนตรีคลาสสิคไวโอลิน เมื่อเรานำความยาวของฟิงเกอร์บอร์ดมา เปรียบเทียบกับความยาวของไวโอลินก็จะได้ PHI เป็นคำตอบเดียวกัน
นี่คือตัวอย่างการศึกษาทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ และความจริงทางธรรมชาติ ทำให้เราได้ค้นพบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ธรรมชาติล้วนได้สร้างกฎเกณฑ์พื้นฐานรองรับ ไว้อย่างน่าอัศจรรย์ พร้อมกันนั้นยังก่อให้เกิดสัดส่วนที่มีความสมส่วนซึ่งกันและกันของขนาด จนกลายเป็นความงาม ความกลมกลืน ที่เราต่างก็ยอมรับถึงความเหมาะเจาะลงตัว
 

อีกทฤษฏีหนึ่ง เกี่ยวกับเบื้องหลังของภาพนี้ และ
สัดส่วนนี้เองทำให้มนุษย์เรา มองภาพนี้ในขนาด PHI จึงสวยที่สุดนั่นเอง

อันที่จริง เลโอนาร์โด นั้น ยังไม่ได้ตั้งชื่อภาพนี้ด้วยซ้ำ เขาไม่ได้แม้กระทั่งเอ่ยถึงภาพในในสมุดบันทึก ภาพนั้นถูกเรียกว่า โมนา ลิซา ผู้เขียน อัตชีวประวัติของ เลโอนาร์โด คนแรก คือ จีออร์จีโอ วิซารี (Giogrgio Visari) ซึ่งเขียนหลังจาก เลโอนาร์โด เสียชีวิตประมาณ 30 ปี แต่เป็นแหล่งข้อมูลเดียวที่จะสามารถอ้างอิงชื่อของภาพนั้นคือ โมนา ลิซา

ต่อไป=>

     
   
 
 
[www.nextstep.co.th ] [ www.ngthai.com ] [ http://update.se-ed.com ] [ http://www.sudipan.net ] [ www.thaiinfonet.com ]
 [ http://www.thaiwaterbirds.com ] [ http://websociety.mauy.net ]
contact : e-mail : [toonit_1@hotmail.com ] [ tune_555@hotmail.com ] [ lionardo_th@yahoo.com ]
blog: [ http://lionardo.exteen.com ] [ http://teshuto.exteen.com ] [ http://spaces.msn.com/members/toonit ]   Webmaster

Webstats4U - Free web site statistics
Personal homepage website counter
Free counter